FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม

30 เม.ย. 2025

พื้นฐาน

ประเภทของการลงทุนใดบ้างที่เป็นหลักทรัพย์?

ประเภทของการลงทุนใดบ้างที่เป็นหลักทรัพย์?

หลักทรัพย์: คู่มือฉบับย่อสำหรับนักลงทุน

หลักทรัพย์คือรากฐานของตลาดการเงิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเจ้าของ สิทธิ์ในการทวงหนี้ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ช่วยให้เงินทุนไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ แต่จะแยกหลักทรัพย์ออกจากการลงทุนประเภทอื่น และเลือกใช้อย่างชาญฉลาดเพื่อสร้างความมั่งคั่งได้อย่างไร? คุณใช้หลักทรัพย์เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุน ประเมินความเสี่ยง และปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างไร? มาทำความรู้จักโลกของหลักทรัพย์ให้ลึกขึ้นผ่านบทความนี้ของ FBS และค้นหาคำตอบไปด้วยกัน

ประเภทหลัก ๆ ของหลักทรัพย์

หลักทรัพย์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่: ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน และตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน แต่ละประเภทเหมาะกับเป้าหมายการลงทุนที่แตกต่างกัน

ตราสารทุน

ตราสารทุนหรือหุ้นเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของในบริษัท เมื่อคุณซื้อตราสารทุน (หุ้น) คุณก็กลายเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น นักลงทุนมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรของบริษัทในรูปแบบของเงินปันผล และกำไรจากส่วนต่างราคา

หุ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  • หุ้นสามัญ (Common Stock) - ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นในการออกเสียงลงคะแนน มีโอกาสได้รับส่วนแบ่งผลกำไรผ่านการจ่ายเงินปันผล หากบริษัทมีนโยบายจ่ายปันผล (Microsoft (MSFT))

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) (อาจถูกจัดเป็นหลักทรัพย์กึ่งหนี้กึ่งทุน) - ผู้ถือหุ้นมักไม่มีสิทธิ์ออกเสียง (หรือมีจำกัด) มักได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ ได้รับการจ่ายเงินก่อนในกรณีบริษัทเลิกกิจการ (Bank of America (BAC.PR.L)

หุ้นมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงที่สูงกว่าเช่นกัน โปรดทราบว่ามูลค่าของหุ้นจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทและสภาพตลาดในขณะนั้น

ทำไมถึงควรเลือกหุ้น?

คุณสามารถซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เช่น ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE) และ Nasdaq ซึ่งมีสภาพคล่องสูงและสามารถซื้อขายได้ง่าย

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง และหนี้สินของบริษัท หลักทรัพย์ประเภทหนี้คือการกู้ยืม โดยธุรกิจหรือรัฐบาลจะกู้เงินจากนักลงทุน โดยในทางกลับกันนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำ (เรียกว่าการจ่ายคูปอง) และการคืนเงินต้นเมื่อถึงวันครบกำหนดที่ตกลงกันไว้

ตราสารหนี้มีประเภทใดบ้าง?

  • พันธบัตร (Bonds) เป็นตราสารหนี้ระยะยาวที่มักมีอายุมากกว่า 1 ปี

  • ตั๋วเงินคลัง (T-bills) เป็นหลักทรัพย์รัฐบาลระยะสั้น (ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี)

  • ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial papers) เป็นหนี้ระยะสั้นของบริษัท (มักมีอายุไม่เกิน 270 วัน) ตัวอย่างเช่น บริษัท Tesla, Inc. ออกพันธบัตร

  • หุ้นกู้เทศบาล (Municipal bonds) เป็นเงินกู้ที่ออกโดยเมืองหรือรัฐเพื่อใช้ในโครงการสาธารณะ (เช่น หุ้นกู้เทศบาลนิวยอร์ก)

ทำไมควรเลือกตราสารหนี้?

ตราสารหนี้ให้ผลกำไรน้อยกว่า แต่ก็มีความผันผวนน้อยกว่า คุณสามารถลดระดับความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุนและกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในพันธบัตร หากคุณเป็นนักลงทุนที่ชอบความปลอดภัยและต้องการผลตอบแทนที่มั่นคงพร้อมความเสี่ยงที่ต่ำกว่า คุณอาจจะชอบพันธบัตรมากกว่า ส่วนพันธบัตรรัฐบาล เช่น ตั๋วเงินคลังของสหรัฐฯ มักถูกมองว่าปลอดความเสี่ยง และตราสารหนี้เอกชนจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านเครดิตบางส่วน

คิดจะลงทุนใช่ไหม? ลองใช้ FBS แพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้และได้รับการกำกับดูแล

ตราสารอนุพันธ์

อนุพันธ์คือตราสารทางการเงินที่มูลค่าของมันจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง เช่น หุ้น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน หรืออัตราดอกเบี้ย ตราสารอนุพันธ์ ได้แก่:

  • ออปชั่น (Options) — ให้สิทธิ์ (แต่ไม่ใช่ข้อผูกมัด) แก่นักลงทุนในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนด

  • สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) — ข้อผูกมัดที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดล่วงหน้าเมื่อถึงวันที่ตกลงกัน

  • สัญญาแลกเปลี่ยน (Swaps) — ข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนกระแสเงินสด (เช่น สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย)

ทำไมต้องซื้อตราสารอนุพันธ์?

อนุพันธ์สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในพอร์ตการลงทุนของคุณ เพราะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากความเคลื่อนไหวของราคา ป้องกันความเสี่ยง (Hedge) และใช้เงินลงทุนน้อยแต่ได้โอกาสในการลงทุนเชิงกลยุทธ์ ตัวอย่าง: หากต้องการเก็งกำไรหรือป้องกันความเสี่ยงจากตลาด ลองพิจารณาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า S&P 500 ดูสิ หมายเหตุ: การซื้ออนุพันธ์ไม่ได้ทำให้คุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรง

โปรดทราบว่าแม้อนุพันธ์จะถูกใช้เพื่อการป้องกันความเสี่ยง แต่ตัวอนุพันธ์เองมีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นหลักทรัพย์ประเภทนี้จึงต้องการประสบการณ์และจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการลงทุน

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid Securities)

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนเป็นการรวมลักษณะของหลักทรัพย์ประเภทหนี้และประเภททุนเข้าด้วยกัน โดยสามารถให้ผลตอบแทนเป็นรายได้ปกติเหมือนพันธบัตร แต่ก็อาจแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ถือเป็นทางเลือกที่ลงตัวระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกำไรสูงขึ้นแต่ยังคงระมัดระวังความเสี่ยง ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ได้แก่:

  • หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bonds) - หุ้นกู้ที่สามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญตามจำนวนและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

  • หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bonds) - ไม่มีวันครบกำหนดไถ่ถอน และมักจ่ายดอกเบี้ยคงที่ไปเรื่อย ๆ

  • หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Shares) - อาจจัดเป็นหลักทรัพย์ประเภททุนได้เช่นกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

ทำไมควรเลือกตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน?

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนจะให้ผลตอบแทนคงที่เหมือนการลงทุนในตราสารหนี้ ในขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสได้รับผลกำไรจากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น ในแง่ของความเสี่ยง ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหุ้นสามัญและพันธบัตรทั่วไป สรุปแล้ว ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำและยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง

ตรวจสอบตารางเปรียบเทียบหลักทรัพย์ต่าง ๆ ของเราและเลือกสิ่งที่คุณต้องการ

ประเภทหลักทรัพย์

ความเป็นเจ้าของ

ประเภทของรายได้

ระดับความเสี่ยง

ตัวอย่าง

ตราสารทุน

ใช่

เงินปันผลหรือดอกเบี้ย (ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์)

สูง

หุ้นของ Apple (AAPL)

ตราสารหนี้

ไม่

ดอกเบี้ยคงที่

ต่ำถึงปานกลาง

ตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ หุ้นกู้ Tesla

ตราสารอนุพันธ์

ไม่

ผันแปร

สูง

สัญญาฟิวเจอร์ส S&P 500, คอลออปชัน

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน

บางส่วน: ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์

คงที่หรือผันแปร

ปานกลาง

หุ้นกู้แปลงสภาพ, หุ้นบุริมสิทธิ

ยังไม่แน่ใจเลยว่าจะเริ่มลงทุนที่ไหนดีใช่ไหม? มาเปิดโลกการลงทุนกับหลักทรัพย์ไปกับ FBS — เปิดบัญชีทดลองตอนนี้เลย!

กรอบการกำกับดูแลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

กฎระเบียบด้านหลักทรัพย์ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องนักลงทุนจากกิจกรรมการฉ้อโกง สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส และประสิทธิภาพของตลาด ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางการเงินให้กับผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด

ทั้งเทรดเดอร์และนักลงทุนควรทำความเข้าใจข้อกำหนดและข้อจำกัดทางกฎระเบียบที่ใช้กับหลักทรัพย์ ในสหรัฐอเมริกา ตลาดหลักทรัพย์จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ส่วนในยุโรปจะอยู่ภายใต้ European Securities and Markets Authority (ESMA) แม้กฎระเบียบจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ:

  • ตรวจสอบให้บริษัทต่าง ๆ เผยแพร่ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา เช่น เงื่อนไขการชำระเงิน ความเสี่ยง และสุขภาพทางการเงิน

  • ป้องกันการเทรดโดยใช้ข้อมูลภายในและปั่นตลาด และ

  • ป้องกันการเก็งกำไรที่มากเกินไป

เมื่อเลือกแพลตฟอร์มหรือโบรกเกอร์ ต้องตรวจสอบว่ามีการกำกับดูแล เพื่อความปลอดภัยของเงินทุนคุณ FBS อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ทุกการทำธุรกรรมจึงมีความปลอดภัยและมั่นคง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม FBS วันนี้!

หลักทรัพย์ vs. การลงทุนทางเลือก

ประเภทของการลงทุนใดบ้างที่เป็นหลักทรัพย์?

นอกจากหลักทรัพย์แล้ว ยังมีการลงทุนอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น อสังหาริมทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ และการลงทุนโดยตรง ซึ่งแม้จะช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนได้ แต่ก็ไม่จัดเป็นหลักทรัพย์ตามนิยามมาตรฐาน

การลงทุนทางเลือก ได้แก่:

  • อสังหาริมทรัพย์ — ทรัพย์สินที่อยู่อาศัยหรือเชิงพาณิชย์

  • หุ้นนอกตลาด — การเป็นเจ้าของบริษัทเอกชน

  • กองทุนเฮดจ์ฟันด์ — กองทุนรวมที่จำเป็นต้องมีการวางกลยุทธ์ขั้นสูง

  • สินค้าโภคภัณฑ์ – ทองคำ แพลทินัม น้ำมัน ฯลฯ

  • สกุลเงินดิจิทัล – Bitcoin, Ethereum ฯลฯ

  • ของสะสม — เช่น งานศิลปะต่าง ๆ

ข้อแตกต่างจากหลักทรัพย์ในตลาดหลัก ได้แก่

  • สภาพคล่องต่ำ

  • การกำกับดูแลที่จำกัด

  • ความโปร่งใสน้อยกว่า

  • โอกาสทำกำไรสูง แต่ความเสี่ยงก็สูงตาม

สรุป

การตัดสินใจทางการเงินอย่างรอบคอบจำเป็นต้องเข้าใจว่าการลงทุนประเภทใดจัดอยู่ในหมวดหมู่หลักทรัพย์ และแต่ละประเภททำงานอย่างไร การผสมผสานความรู้นี้กับประสบการณ์ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง คือกุญแจสำคัญสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในระยะยาว

FBS ทำให้การเทรดเป็นเรื่องง่าย — เริ่มเลยตอนนี้!

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก