FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม

16 เม.ย. 2025

หุ้น

Tesla เผชิญปัจจัยลบทั้งด้านภาษี ความตึงเครียดทางการค้า และปัญหาแบรนด์ ทำให้เสี่ยงปรับตัวลงต่อ

ภาพรวมตลาด

Tesla ยังคงเผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้ถอดตัวเลือกการสั่งซื้อรถยนต์รุ่นนำเข้าอย่าง Model S และ Model X ออกจากเว็บไซต์ในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลจีนประกาศขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐฯ เป็น 125% ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อยอดขายของ Tesla ในตลาดสำคัญแห่งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าบริษัทจะยังสามารถผลิต Model 3 และ Model Y ในโรงงานเซี่ยงไฮ้ได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม แรงกดดันจากแบรนด์รถยนต์ท้องถิ่นที่แข็งแกร่งขึ้น ประกอบกับความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐ กำลังค่อย ๆ บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของ Tesla ในจีนอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ยอดขายของ Tesla ในจีนลดลงถึง 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และส่วนแบ่งตลาดระดับโลกของบริษัทก็ปรับตัวลดลงตามลำดับเช่นกัน

     ในฝั่งสหรัฐฯ สถานการณ์ก็ไม่ต่างกันมากนัก โดย Tesla ต้องรับมือกับการขึ้นภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ในอัตรา 25% ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่า ชิ้นส่วนประมาณ 40–50% ของรถยนต์แต่ละคันยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ความไม่แน่นอนทางนโยบายที่เปลี่ยนแปลงบ่อย รวมถึงแรงกดดันจากความพยายามให้บริษัทต่าง ๆ ย้ายฐานการผลิตกลับเข้าสู่สหรัฐฯ ได้สร้างภาระต้นทุนใหม่ ๆ ให้กับ Tesla อย่างต่อเนื่อง Dan Ives นักวิเคราะห์ชื่อดังจาก Wedbush ถึงกับระบุว่า Tesla กำลังเผชิญกับ “พายุสมบูรณ์แบบ” ทั้งในแง่ภาษี นโยบาย และภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมและท่าทีของ Elon Musk เอง ซึ่งอาจทำให้บริษัทสูญเสียฐานลูกค้าถาวรไปแล้วถึง 10% ขณะเดียวกัน ยอดส่งมอบรถยนต์ในไตรมาสแรกก็ต่ำกว่าคาดการณ์ถึง 40,000 คัน ตอกย้ำภาพรวมที่ยังอยู่ภายใต้แรงกดดันหลายด้าน      

แม้จะยังมีนักวิเคราะห์บางรายที่ให้คำแนะนำ “ซื้อ” หุ้น Tesla ด้วยมุมมองระยะยาวที่เชื่อมั่นในศักยภาพของเทคโนโลยีและโครงสร้างธุรกิจ แต่ในระยะสั้นกลับเต็มไปด้วยปัจจัยลบที่ไม่อาจมองข้าม โดยเฉพาะความเสี่ยงที่กำไรจากการดำเนินงานในปี 2025 อาจหดตัวลงถึง 3 พันล้านดอลลาร์ จากผลกระทบของต้นทุนภาษีที่เพิ่มขึ้นและความต้องการที่อ่อนแรงลงในหลายภูมิภาคทั่วโลก เนื่องจากราคาขายที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ หาก Tesla ต้องการหลีกเลี่ยงภาระภาษีระยะยาว บริษัทอาจต้องลงทุนมหาศาลและใช้เวลาหลายปีในการย้ายห่วงโซ่อุปทานกลับเข้าสหรัฐฯ ซึ่งยิ่งสร้างแรงกดดันต่อโครงสร้างต้นทุนและความสามารถในการแข่งขันโดยรวม สัญญาณทั้งหมดที่ปรากฏจึงชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ความไม่แน่นอนระดับมหภาคยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งราคาหุ้นของ Tesla ในระยะข้างหน้า และนักลงทุนควรใช้ความระมัดระวังกับความเสี่ยงของการปรับตัวลงที่ยังไม่จบสิ้นในเร็ววัน
การวิเคราะห์ทางเทคนิค

TESLA

หุ้น Tesla (TSLA) ในกรอบเวลา 4 ชั่วโมง (H4) ยังคงเคลื่อนไหวในแนวโน้มขาลงอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดช่วงที่ผ่านมา ราคายังไม่สามารถทะลุกรอบแนวต้านด้านบนของกรอบราคาสีแดงขึ้นไปได้ ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันจากฝั่งผู้ขายที่ยังคงมีน้ำหนักอย่างชัดเจน อีกทั้งเส้นค่าเฉลี่ยในระยะต่าง ๆ ยังคงเรียงตัวในลักษณะที่กดราคาลงด้านล่าง ซึ่งเป็นลักษณะของตลาดที่ยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ และทำให้โอกาสในการฟื้นตัวกลับขึ้นของราคายังมีจำกัดในระยะนี้ เมื่อพิจารณาจากตัวชี้วัดทางเทคนิคเพิ่มเติม จะเห็นว่า RSI ล่าสุดยังคงอยู่ต่ำกว่า 50 (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 47) ซึ่งแสดงถึงแรงขายที่ยังมีความได้เปรียบ ขณะที่ MACD ก็ยังคงเคลื่อนไหวในลักษณะขาลง โดยเส้น MACD ยังคงอยู่ต่ำกว่าเส้น Signal line อย่างชัดเจน พร้อมกับแท่งฮิสโตแกรมที่ยังอยู่ในแดนลบ สะท้อนว่าโมเมนตัมเชิงลบยังไม่หมดไป และมีแนวโน้มที่จะกดดันราคาต่อในช่วงสั้นถึงกลาง อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรจับตาการเคลื่อนไหวของราคาบริเวณกรอบสีแดงนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากราคาสามารถทะลุแนวต้านบริเวณด้านบนของกรอบขึ้นไปได้ ก็อาจเป็นสัญญาณที่ช่วยสนับสนุนโมเมนตัมเชิงบวกกลับคืนมา และอาจเปลี่ยนทิศทางระยะสั้นของราคาให้กลายเป็นแนวโน้มขาขึ้นได้อีกครั้ง ทั้งนี้ แนวรับสำคัญที่ควรเฝ้าระวังอยู่ที่บริเวณ 183.36 ดอลลาร์ ซึ่งเคยเป็นระดับที่ราคาพักตัวก่อนรีบาวด์ในอดีต ขณะที่แนวต้านหลักที่ควรจับตา หากราคาทะลุกรอบสีแดงขึ้นไปได้ คือบริเวณ 315.90 ดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นด่านสำคัญในการยืนยันการเปลี่ยนแนวโน้มอย่างแท้จริง แต่หากไม่สามารถฝ่าระดับนี้ขึ้นไปได้ ก็มีโอกาสสูงที่ราคาจะยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเดิม และเผชิญแรงกดดันต่อเนื่องจากฝั่งขายในช่วงถัดไป

TESLA, H41607.png

การซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศโดยใช้มาร์จิ้นมีความเสี่ยงสูงและอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน เนื่องจากการใช้เลเวอเรจที่สูงสามารถทำให้ทั้งกำไรและขาดทุนที่อาจได้รับเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนที่จะเข้าสู่ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การประเมินเป้าหมายการลงทุน ประสบการณ์ และความสามารถในการรับความเสี่ยงของตัวเองอย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งจำเป็น

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:
Witsawa Lattaponpakorn

ผู้เขียน: Witsawa Lattaponpakorn

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก